วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ประโยชน์ของการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน

ประโยชน์ของการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน

ประโยชน์ของการบวชสามเณรภาคฤดูร้อน
โดยพระครูวิสิฐสุตาลังการ,ดร.
---------------------------------------------------------------------------
การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นโครงการที่วัดต่างๆ จัดขึ้นในช่วงปิดเทอมใหญ่ คือ ระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ
         - เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
        - เพื่อให้เยาวชนไทยได้ศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาควิชาการ และภาคปฏิบัติ
        - เพื่อเป็นการสนองนโยบายของกรมการศาสนา กรมสามัญศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ อื่นๆ
::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

หากเราเห็นแก่คุณธรรม ผลประโยชน์ย่อมเบาบาง

เมืองเล็กๆ แห่งหนึ่งในอเมริกา มีธนาคารแห่งหนึ่งกำลังถูกโจรปล้นธนาคารโจรไม่ได้เงินจากธนาคารจึงจับเด็ก ชายวัย 5 ขวบคนหนึ่งเป็นตัวประกันและบอกกับตำรวจที่ล้อมอยู่ข้างนอก ให้หาเงินจำนวน 5 แสนดอลล่าร์พร้อมกับรถยนต์หนึ่งคัน ไม่เช่นนั้นจะฆ่าตัวประกันนี้ เมื่อเนลสันนักจิตวิทยามาถึงเขาพยายามดึงเวลาให้ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ประจำในจุดที่จะคุ้มครองตัวประกันทั้งหมดได้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นว่าโจรกำลังจะลงมือฆ่าเด็ก จึงยิงปืนใส่หัวของคนร้ายจนล้มลงไปกองกับพื้น เด็กชายล้มลงไปพร้อมกับเลือดของคนร้าย ที่สาดกระเด็นมาเปื้อนใบหน้าและเสื้อผ้า เสียงร้องไห้จ้าด้วยความหวาด กลัวสุดขีดของเด็กน้อยดังขึ้น พร้อมกับช่วงที่เนลสันวิ่งเข้าไปกอดเพื่อปลอบใจพอดี ในช่วงชุลมุนของนักข่าว ที่ต่างพากันถือทั้งกล้องและไมค์กรูเข้ามาทำข่าวและถ่ายภาพ จู่ๆ เนลสันก็ตะโกนขึ้นด้วยเสียงอันดังว่า “จบการฝึกซ้อม ทุกคนช่วยกันเคลียร์พื้นที่!” ทุกคนในเหตุการณ์ต่างตกตะลึง ในสิ่งที่เนลสันตะโกนออกมารวมทั้งเด็กน้อยวัย 5 ขวบก็หยุเร้องไห้และมองไปที่ใบหน้าของเนลสันอย่างฉงน “แม่ครับ เขาฝึกซ้อมกัน เหรอครับ?” เด็กน้อยถามออกไป “ใช่จ้าลูก!” แม่ของเขาพยักหน้าตอบทั้งน้ำตา ตำรวจหลายคนเดินเข้ามาชื่นชมเด็ก “เจ้าหนู นายเก่งมาก นายแสดงได้ดีมากๆ!” พร้อมกับพากันยกนิ้วให้ วันต่อมา ไม่มีหนังสือพิมพ์ฉบับใดลงข่าวโจรปล้นธนา คารเมื่อวานเลยแม้แต่ฉบับเดียวต่างก็พากันปกป้องความรู้สึกของเด็กน้อย ไม่ให้มีความหวาดผวาในเรื่องที่เกิดขึ้นเมื่อวาน หลายสิบปีผ่านไป ชายวัยทำงานคนหนึ่ง เดินทางมา ขอพบเนลสันและเอ่ยถึงเหตุการณ์โจรปล้ธนาคาร เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว เขาถามเนลสันด้วยความสงสัยว่าทำไมถึงตะโกนประโยคนั้นออกมา “ตอนที่ผมได้ยินเสียงปืนดังขึ้น ผมคิดว่าเหตุการณ์ในครั้งนี้ คงฝังใจให้เด็กน้อยคนนี้ผวาและหวาดกลัวจนไม่อาจมีความมั่นใจในชีวิตได้อีกต่อไป และเมื่อผมวิ่งเข้าไปใกล้เด็กน้อยคนนั้น พระผู้เป็นเจ้าก็ให้สติกับผมและให้ผมพูดคำว่า"จบการฝึกซ้อมทุกคนช่วยกันเคลียร์ พื้นที่” เมื่อเนลสันพูดจบ ชายคนนั้นก็เข้ามากอดเนลสัน ซึ่งตอนนี้ก็แก่ชราลงมากแล้ว “ผมถูกหลอกมา 30 ปี แม่เพิ่งบอกความจริงให้ผมทราบเมื่อไม่นานมานี้ ขอบพระคุณมากๆ ครับคุณลุงเนลสัน ขอบคุณที่ทำให้ผมมีชีวิตเป็นปกติเหมือนคนทั่วๆไป” เขาร้องไห้ออกมาด้วยความซาบซึ้งใจ “คุณไม่ต้องขอบคุณผมหรอก หากจะขอบคุณ ก็จงขอบคุณนักข่าวและทุกคนในเมืองนั้นที่ช่วยกันโกหกคุณ" .................. หากเราเห็นแก่คุณธรรม ผลประโยชน์ย่อมเบาบาง หากเราเห็นแก่ผลประโยชน์ คุณธรรมย่อมเสื่อมสูญ
ที่มา.กลุ่มไลน์

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

บทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการ ไวยาวัจกรวัดฯ

บทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการ
บทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการ 

อำนาจของเจ้าอาวาส
อำนาจของเจ้าอาวาส ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มาตรา ๓๘ ได้บัญญัติไว้ว่า เจ้าอาวาสมีอำนาจ ดังนี้
(๑) ห้ามบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัด
(๒) สั่งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสออกไปเสียจากวัด
(๓) ตั้งให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่ หรือพำนักพักอาศัยในวัด ทำงานภายในวัดหรือให้ทำทัณฑ์บน หรือให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์นั้นประพฤติผิดคำสั่งเจ้าอาวาสซึ่งสั่งโดยชอบด้วยพระธรรมวินัย กฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ หรือ คำสั่งของมหาเถรสมาคม
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้ จำแนกอำนาจของเจ้าอาวาสออกได้ดังนี้

๑. ห้ามมิให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งมิได้รับอนุญาตจากเจ้าอาวาสเข้าไปอยู่อาศัยในวัดนั้น

๒. สั่งบรรพชิตและคฤหัสถ์ซึ่งไม่อยู่ในโอวาทของเจ้าอาวาสให้ออกไปเสียจากวัดนั้น

๓. สั่งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัดให้ทำงานภายในวัดนั้น

๔. สั่งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัดให้ทำทัณฑ์บน

๕. สั่งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่มีที่อยู่หรือพำนักอาศัยในวัดให้ขอขมาโทษ ในเมื่อบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ในวัดนั้นประพฤติผิดคำสั่งของเจ้าอาวาสซึ่งได้สั่งโดยชอบด้วย

พระธรรมวินัย
กฎมหาเถรสมาคม
ข้อบังคับมหาเถรสมาคม
ระเบียบมหาเถรสมาคม
คำสั่งมหาเถรสมาคม

ความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนา

ยุคใดสมัยได ทางการคณะสงฆ์คือพระภิกษุสงฆ์ผู้มีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์ (สมัยปัจจุบันนี้คือ พระสังฆาธิการทุกระดับชั้น โดยเฉพาะคือเจ้าอาวาส) มีการตื่นตัว มีการเคลื่อนไหว

กล่าวคือ เป็นผู้ไม่อยู่เปล่า ไม่กินเปล่า บำเพ็ญตนเป็น อัตถจารีบุคคล คือ เป็นบุคคลทำประโยชน์บำเพ็ญอัตตสมบัติและปรหิต ปฏิบัติอยู่เสมอยุคนั้นสมัยนั้น พระพุทธศาสนาย่อมจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางเจริญรุ่งเรือง

ยุคใดสมัยใด ทางการคณะสงฆ์คือพระภิกษุผู้มีหน้าที่บริหารคณะสงฆ์ หรือผู้มีหน้าที่บริหารพระศาสนาไม่มีการตื่นตัว ไม่มีการเคลื่อนไหว บำเพ็ญตนเป็น ทิฏฐธัมมสุขวิหารี คือ

แสวงหาความสุขในปัจจุบันไปวันๆหนึ่ง เป็นคนอยู่เปล่า กินเปล่า ปล่อยให้ชีวิตความเป็นอยู่ โทฆชีวิต ยุคนั้นสมัยนั้นพระพุทธศาสนาย่อมจะหยุดอยู่ และหยุดอยู่เพื่อความเสื่อม เพื่อถูกทำลายไปในที่สุด

หน้าที่ของพระสงฆ์ คือ รับผิดชอบต่อพุทธจักร

๑. มีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา

๒. มีหน้าที่รักษาสังฆมณฑล

๓. มีหน้าที่ป้องกันความยากจน (ความอับจน) ของวัดวาอาราม

เจ้าอาวาสเป็นพระภิกษุผู้อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด

ในบรรดาพระสังฆาธิการ ๕ ชั้น ๑๑ ตำแหน่ง ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่บริหารพระศาสนามีหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์นั้นเจ้าอาวาสเป็นพระสังฆาธิการชั้นต่ำสุดและเป็นพระสังฆาธิการที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด พระพุทธศาสนาจะเจริญก็เพราะความเลื่อมใสของประชาชนหรือพระพุทธศาสนาจะเสื่อม ก็เพราะความไม่เลื่อมใสของประชาชนท่านเจ้าอาวาสย่อมเป็นตัวจักร สำคัญที่สุดในความเจริญและความเสื่อมของพระพุทธศาสนา เพราะเหตุนี้พระภิกษุผู้สมควรได้

รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรือเป็นสมภารนั้น จึงสมควรมีคุณลักษณะ ๓ ประการ คือ

๑. ดีนอก คือ ประชาชนทั้งหลายเลื่อมใสหรือศีลาจารวัตรเรียบร้อย น่าเลื่อมใส

๒. ดีใน ?คือ พระภิกษุสงฆ์เลื่อมใสหรือ มีน้ำใจงามเป็นนักเสียสละ

๓. ยาวด้วย คือ เป็นผู้บวชนานหรือเป็นผู้เห็นการไกล

เจ้าอาวาสเป็นขวัญใจของประชาชน

๑. เมื่อยามชาวบ้านเขามีความสุข เขานิมนต์ให้ไปประสิทธิ์ประสาทพร ก็ยินดีรับนิมนต์ไปฉลองศรัทธาของเขาเพื่อช่วยบำรุงสุขใจให้แก่เขาโดยถือหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอผู้ใดมาติดต่อขอนิมนต์ก่อนก็ไปฉลองศรัทธาผู้นั้นไม่เลือกที่รักผลักที่ชังหรือไม่รับนิมนต์เผื่อเลือกไม่มีการโมโหโลกะนะ

๒. เมื่อยามชาวบ้านเขามีความทุกข์เดือดร้อนก็ไปเยี่ยมเยียนปลอบใจ เพื่อช่วยบำบัดทุกข์ใจเป็นการแสดงน้ำใจไมตรีต่อเขา ไม่รักทิ้งกันเมื่อยามยาก เพราะธรรมดาคนเราจะเห็นใจกันก็เพราะไม่ละทิ้งกันเมื่อยามยากนี่แหละ

๓. เมื่อยามชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไปเยี่ยมไข้เพื่อเป็นการช่วยบำรุงขวัญช่วยให้กำลังใจ อันจะเป็นเหตุให้อาการป่วยไข้ของเขาหายวันหายคืน หรือเพื่อเป็นการช่วยให้เขามีจิตใจผ่องใสเบิกบานในวาระสุดท้ายของชีวิตก่อนจะจากโลกนี้ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ดังพระพุทธภาษิตว่า จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิฺกงขา แปลความว่า เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้วทุคติย่อมเป็นอันหวังได้

 ๔. เมื่อยามชาวบ้านเขาตายก็ไปร่วมบำเพ็ญกุศลอุทิศให้เพื่อเป็นการบำรุงขวัญแก่พวกลูกหลานถ้าผู้ตายเคยมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัดได้เคยทำการอุปถัมภ์บำรุงวัดด้วยดีตลอดมา ก็รับเป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ตามประเพณีนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ

๕. เมื่อยามชาวบ้านเขาจัดงานทำบุญที่วัด หรือที่บ้านก็ช่วยอำนวยความสะดวกให้เขาตามสมควรไม่แสดงความรังเกียจหรือไม่แสดงตนเป็นคนเห็นแก่ได้ให้ปรากฏออกมานอกหน้า

๖. เมื่อยามชาวบ้านเขามีกรณีพิพาทกันในเรื่องต่างๆเช่นกรณีพวกลูกๆเกิดทะเลาะกันเรื่องการแบ่งมรดกเป็นต้น เจ้าอาวาสก็ทำหน้าที่เป็น อนุญาโตตุลาการ ช่วยเป็นผู้พิพากษาไกล่เกลี่ยให้พวกเขาประนีประนอมกันให้พวกเขามีความสมัครสมานสามัคคีต่อกันฉันพี่น้อง พร้อมที่จะยอมให้อภัยแก่กันและกัน ไม่ต้องฟ้องร้องแย่งมรดกกันในโรงศาล

๗. เมื่อยามชาวบ้านเขามีธุรกิจมาปรึกษาหารือก็ช่วยแนะนำชี้แจงให้เขาตามสมควรแก่สมณะวิสัยเพื่อช่วยให้เขาได้รับความสมหวังกลับไป

๘. เมื่อยามชาวบ้านเขามาเยี่ยมเยือนที่วัดก็ทักทายปราศรัยต้อนรับตามสมควรแก่ฐานะของเขา ให้เกียรติแก่คนทุกชั้น ทุกเพศ ทุกวัย ให้ความเป็นกันเองด้วยความเต็มใจ มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส (น้ำขุ่นเก็บไว้ข้างใน น้ำใสนำออกมาข้างนอก) ใช้คำพูดแบบสมณโวหาร พูดหวานขานเพราะไม่พูดถึงความบกพร่องของเขา

๙. เมื่อยามชาวบ้านเขาได้พบปะ ก็ทักทายปราศรัยฉันคนรู้จักมักคุ้นกัน ไม่แสดงกิริยาอาการเมินเฉย ไม่พูดล้อเล่นในเรื่องที่จะทำให้เขาเกิดความเข้าใจผิดกัน จนเป็นเหตุเกิดการทะเลาะวิวาทบาดหมางกันโดยเฉพาะคือเรื่องระหว่างผัวเมีย

๑๐. เมื่อยามพวกชาวบ้านเขานัดชุมนุมการเพื่อทำการพัฒนาท้องถิ่น ก็ไปร่วมสนับสนุนกิจการพัฒนาของพวกเขาด้วย โดยการกล่าวสัมโมทนียกถา การประพรมน้ำพระพุทธมนต์การนำสิ่งของเล็กๆน้อยๆ เช่น หมากพลู บุหรี่ เครื่องดื่ม ขนม เป็นต้น ไปฝากพวกเขาบ้างตามสมควรเพื่อเป็นเครื่องแสดงน้ำใจที่หวังดีปรารถนาดีร่วมกับพวกเขาด้วย