สำนักงานเจ้าคณะตำบลโคกกรวด เขต ๒,วัดหนองรังกา ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561
อ่านให้จบน้า..ดีมากๆเลยคำถามถึงเทวดา, พญานาค, พระภูมิเจ้าที่, สัตว์เดรัจฉาน,เปรต, สัตว์ในนรก และมนุษย์
เทวดา |
‼️คำถามถึงเทวดา, พญานาค, พระภูมิเจ้าที่,
สัตว์เดรัจฉาน,เปรต, สัตว์ในนรก และมนุษย์
คำถามเดียวกัน แต่ต่างคำตอบ ต่างภพภูมิ ต่างวาระ ต่างบารมี ต่างความคิด
ต่างการกระทำ ต่างจุดมุ่งหมาย
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อยากจะทำอะไร"
เทวดา ตอบว่า
"เราจะพิจารณาธรรม เพราะมนุษย์มีกายสังขาร ที่เหมาะกับการพิจารณาธรรมมาก ร่างกายของมนุษย์เป็นเครื่องมือที่ใช้พิจารณาธรรมได้ดีที่สุด น่าอิจฉาพวกมนุษย์จริงๆ"
พญานาค ตอบว่า
"บวชสิ ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะบวช ... เป็นพญานาคมีฤทธิ์มากก็จริง แต่บวชไม่ได้ พ้นทุกข์ไม่ได้ ไม่เหมือนมนุษย์ พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้นาคบวช แต่มนุษย์บวชได้ มนุษย์สร้างบุญใหญ่ไปสวรรค์ชั้นสูง ไปแดนนิพพานได้ แสนประเสริฐ"
พระภูมิเจ้าที่ ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง คราวนี้เราจะไปทำบุญใส่บาตรทุกวัน ไม่ต้องมานั่งรอคนอุทิศส่วนกุศลมาให้เราอีก ไปทำเองเลย เพิ่มบารมีได้เร็วทันใจดี"
สัตว์เดรัจฉาน ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะสงเคราะห์สัตว์ตัวอื่นๆ เป็นสัตว์นั้นทุกข์มาก พูดก็ไม่ได้ คิดอะไรฉลาดๆก็ไม่ได้
เป็นมนุษย์มีสมองมีปัญญา เราจะใช้ปัญญาของมนุษย์ทำให้ตัวเองไม่ต้องมาเป็นสัตว์อีก"
เปรต ตอบว่า
"เราไม่อยากมีหน้าตาน่าเกลียด ไม่อยากมีปากเท่ารูเข็ม มีรูปร่างสูงเหมือนต้นตาล
ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะถือศีล จะได้ไม่ต้องมาเป็นเปรตผู้หิวโหย อดๆ อยากๆ ทนทุกข์ทรมานแบบนี้"
สัตว์นรกในอเวจี ตอบว่า
"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ เราจะทำความดี จะไม่ผิดศีล5อีก จะปฏิบัติธรรม เพราะนรกมันร้อนมันโหดร้าย อยู่แล้วมีแต่ความเจ็บปวด ทุรนทุราย ถ้าข้ามีโอกาสอีกครั้ง เราจะไม่ทำเลว เราไม่อยากทรมาน ไม่อยากได้ชื่อว่าเป็นสัตว์นรกอีก"
แต่เมื่อถามคำถามเดียวกัน
มนุษย์ตอบว่า "อยากสมหวังรัก,อยากรวย,อยากมีตำแหน่งสูง,อยากมีอำนาจ แม้ต้องผิดศีล ทำร้ายใครก้อจะทำ"
อนิจจาใครหนอ..น่าสงสารที่สุด!
มนุษย์ผู้ที่อยากแต่ทรัพย์สมบัติภายนอกที่ยึดถือได้ชั่วคราว
ทั้งที่มีโอกาสจะทำบุญกุศลมากกว่าเพื่อน ทำให้มีอริยทรัพย์คือ
ทรัพย์อันประเสริฐเป็นของติดตัวไปทุกภพภูมิ อยู่ภายในใจ มี ๗ สิ่งคือ ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา
อ่านอีกครั้งจะรู้ว่า "มันดีมาก"
1 แชร์ 1 ธรรมทาน
เป็นบุญกุศลมากสำหรับผู้รับเเละผู้ส่ง 🙏🏻
วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การกรวดน้ำ
- งานทำบุญทุกชนิด ต้องมีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปด้วย
- ใช้น้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสีหรือสิ่งอื่นใดเจือปน
- ใช้ภาชนะ (เต้า) กรวดน้ำโดยเฉพาะ ถ้าไม่มี ก็ใช้แก้วน้ำหรือขันน้ำแทน
- เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาว่า ยถา... ก็เริ่มกรวดน้ำโดยจับภาชนะกรวดน้ำด้วย
- ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากกว้าง เช่น แก้วน้ำหรือขันน้ำ ฯลฯ ควรใช้นิ้วมือรองรับสาย น้ำเพื่อให้ไหลลงตามนิ้วมือ ถ้าภาชนะกรวดน้ำปากแคบ เช่น เต้ากรวดน้ำ ฯลฯ ไม่ต้องใช้นิ้วมือรองรับสายน้ำ
- เมื่อพระสงฆ์ขึ้นอนุโมทนาว่า สัพพีติโย... พึงเทน้ำให้หมดภาชนะกรวดน้ำแล้ว
- พิธีกร เข้าไปนำภาชนะกรวดน้ำพร้อมทั้งน้ำที่กรวดแล้วออกมาทันที เทลงพื้นดิน ที่สะอาด ในที่กลางแจ้ง หรือที่โคนต้นไม้ใหญ่ ภายนอกตัวอาคารบ้านเรือน ห้ามเทลงในกระ โถน หรือในที่สกปรก เป็นอันขาด
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ ญาตะโย.
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร.
อิทัง เม เทวะตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ เทวะตาโย.
อิทัง เม สัพเพสัง สัตตานัง โหตุ, สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา.
ขอส่วนบุญของข้าพเจ้านี้ จงสำเร็จ แก่ญาติ มารดาบิดา เทวดา และสรรพสัตว์
ทั้งหลาย ขอให้ญาติ มารดา บิดา เทวดา และสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นสุขเถิด
การจัดเครื่องไทยธรรมถวายพระ
- เครื่องไทยธรรม คือ วัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่สมควรถวายพระสงฆ์ ได้แก่ ปัจจัย ๔ และสิ่งของที่นับเนื่องในปัจจัย ๔
- สิ่งของที่ประเคนพระได้ในเวลาช่วงเช้าถึงเที่ยง ได้แก่อาหารคาวหวานทุกชนิด ทั้งอาหารสด อาหารแห้ง และอาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท (หากนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวาย ในเวลาหลังเที่ยงแล้วไม่ต้อง ประเคน เพียงแต่แจ้งให้พระรับทราบแล้วมอบให้ศิษย์ เก็บรักษาไว้จัดทำถวายในวันต่อไป)
- สิ่งของที่ประเคนพระได้ตลอดเวลา ได้แก่ ประเภทเครื่องดื่ม เครื่องยารักษาโรค และประเภท
- สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนพระได้แก่ เงินและวัตถุสำหรับใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร
- ถ้าเป็นชาย ยกส่งให้ถึงมือพระ ถ้าเป็นหญิง วางถวายบนผ้าที่พระทอด รับประ เคน หรือ
- ถ้าพระสงฆ์นั่งกับพื้น พึงนั่งคุกเข่าประเคน ถ้าพระสงฆ์นั่งเก้าอี้ พึงยืนหรือนั่ง คุกเข่าประเคน
- ภัตตาหารทุกชนิดที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์จับต้องอีก ถ้าเผลอไปจับต้องประเคนใหม่ ลักษณะการประเคนที่ถูกต้อง ประกอบด้วยองค์ ๕ คือ
๑. สิ่งของที่จะประเคนไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป ขนาดคนปานกลางคนเดียวยกได้
๒. ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นอย่างมาก (ไม่เกิน ๒ ศอก)
๓. ผู้ประเคนน้อมสิ่งของเข้าไปด้วยกิริยาอาการแสดงความเคารพอ่อนน้อม
๔. กิริยาอาการที่น้อมสิ่งของเข้าไป จะส่งด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักถวาย ฯลฯ ก็ได้
๕. พระผู้รับประเคนนั้น จะรับด้วยมือก็ได้ ด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่น จะใช้ผ้าทอดรับ
ประธานในพิธี
- พร้อมที่โต๊ะวางสำรับอาหาร (ไม่ต้องจุดธูป เพราะถือเป็นพิธีต่อเนื่องจากการจุดธูป เทียนตอนเริ่ม
-นั่งคุกเข่า หรือยืนตามความเหมาะสมของสถานที่ ประนมมือกล่าวคำบูชาข้าว พระพุทธโดยว่า
-กราบ ๓ ครั้ง หรือยกมือขึ้นจบ ๑ ครั้ง ตามความเหมาะสมของสถานที่ (ยกมือขึ้นจบ คือ ยกมือขึ้นแล้วก้มศีรษะลงพองาม โดยให้ปลายนิ้วหัวแม่มือจรดที่ระหว่างคิ้ว ส่วนปลาย นิ้วจรดที่ไรผม)
๖. การลาข้าวพระพุทธ
เมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือพิธีกรเข้าไปนั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำลาข้าวพระพุทธ แล้วยกอาหารไปได้หมายเหตุ การลาข้าวพระพุทธเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีคำลาข้าวพระพุทธดังนี้
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ"
(ข้าพเจ้าขอส่วนที่เหลืออันเป็นมงคลนี้)
๗. กล่าวคำถวายสังฆทาน
- การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีหลวง ไม่มีการกล่าวคำถวาย สังฆทาน
- การถวายภัตตาหาร (อาหารสด) งานทำบุญพิธีราษฎร์ มีทั้งกล่าว และไม่กล่าว
- การถวายอาหารแห้ง ทั้งพิธีหลวง และพิธีราษฎร์ ต้องมีกล่าวคำถวายสังฆทาน เสมอ
๗.๑ คำถวายสังฆทานแบบมี ภัตตาหารเป็นหลัก (ถวายก่อนเที่ยง)
นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งภัตตาหาร/พร้อมทั้ง
นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
อิมานิ มะยัง ภันเต/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ภิกขุสังฆัสสะ/ โอโณชะยามะ/ สาธุ โน ภันเต/ ภิกขุสังโฆ/
อิมานิ/ กัปปิยะภัณฑานิ/ ปะฏิคคัณหาตุ/ อัมหากัง/ ทีฆะรัตตัง/ หิตายะ/ สุขายะ
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ซึ่งกัปปิยภัณฑ ์ เหล่านี้/
นะโม ตัสสะ/ ภะคะวะโต/ อะระหะโต/ สัมมาสัมพุทธธัสสะ (ว่า ๓ จบ)
ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ/ ข้าพเจ้าทั้งหลาย/ ขอน้อมถวาย/ ซึ่งมะตะกะภัตตาหาร/
ขั้นปฏิบัติการ
๑. การใช้เทียนชนวน
- การถือเทียนชนวน พิธีกรถือด้วยมือขวา โดยหงายฝ่ามือ ใช้นิ้วมือสี่นิ้ว (เว้นนิ้ว หัวแม่มือ) รองรับฐานเชิงเทียน แล้วใช้หัวแม่มือกดฐานเชิงเทียนเข้าไว้ ไม่นิยมจับกึ่งกลาง เชิงเทียน เพราะจะทำให้
- การรับเทียนชนวน เมื่อประธานในพิธีจุดธูปเทียนเสร็จแล้ว พิธีกรรับเทียน ชนวน โดยยื่นมือขวาแบมือเข้าไปรองรับ ถอยหลังห่างออกไปเล็กน้อย โค้งคำนับแล้วกลับ หลังหันเดินออกมา
๒. การปฏิบัติของประธานในพิธีที่โต๊ะหมู่บูชาเมื่อเริ่มพิธีการ
- พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา รับเทียนชนวนจากพิธีกรด้วยมือขวา
- จุดเทียนเล่มซ้ายมือของประธานในพิธีก่อน แล้วจุดเทียนเล่มขวามือ
- จุดธูปดอกซ้ายมือของประธานใน พิธีก่อน แล้วจุดธูปดอกที่ ๒ และ ๓ ตาม ลำดับ
- ส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร
- กราบบนที่กราบพระ ๓ ครั้ง ลำดับการปฏิบัติ คือ
- คุกเข่า
- ตั้งลำตัวตรง [๑. ประนมมือ ๒. น้อมศีรษะลง ๓. แนบฝ่ามือทั้งสองบนที่กราบ ๔. จรดหน้าผากลงระหว่างมือ (ให้หน้าผากสัมผัสที่กราบ) ๕.ยกศีรษะขึ้นพร้อมยกมือประนม ขึ้นตาม ๖. ตั้งลำตัวตรง] รวม ๖ จังหวะ นับเป็น ๑ ครั้ง หมายเหตุ การก้มศีรษะลง แล้วแบะฝ่ามือใส่ที่กราบ ๓ ครั้ง ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ไม่พึงปฏิบัติ เช่นนั้น
- ยืนขึ้น แล้วถอยหลังออกมาหนึ่งก้าวหรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับ ธงชาติ ทำเฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ (กรณีมีสิ่งเคารพทั้งสอง) และกลับเข้าสู่ที่รับรองเมื่อจบพิธีการ
- พร้อมที่หน้าโต๊ะหมู่บูชา กราบบน ที่กราบพระ ๓ ครั้ง (ไม่ต้องดับไฟเทียนบน โต๊ะหมู่บูชา)
- ถอยหลังออกมาหนึ่งก้าว หรือพอเหมาะ ทำเฉียงซ้ายแล้วโค้งคำนับธงชาติ ทำ เฉียงขวาแล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์ เป็นอันเสร็จพิธี
- เมื่อประธานในพิธี หรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้วกลับนั่ง ที่เดิม พิธีกรเริ่มกล่าวคำอาราธนาต่อไป
- ถ้าอาสนะอยู่ระดับพื้น ผู้ร่วมพิธีทั้งหมด นั่งกับพื้น พิธีกรพึงนั่งคุกเข่าประนมมือ กราบ ๓ ครั้ง แล้วจึงกล่าวคำอาราธนา ถ้าอาสน์สงฆ์ยกขึ้นสูงจากพื้น แต่ผู้ร่วมพิธีทั้งหมดนั่ง อยู่กับพื้นก็นั่งคุกเข่าอาราธนาเช่นกัน
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ,
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะสีลานิยาจามะ,
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ,ปัญจะสีลานิยาจามะ,
- เมื่อรับศีลเสร็จแล้วพึงอาราธนาพระปริตรต่อไป จบแล้ว ถ้านั่งคุกเข่าก็กราบ ๓ ครั้ง ถ้ายืนก็
วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะทุกขะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะภะยะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
วิปัตติปะฏิพาหายะ,สัพพะสัมปัตติสิทธิยา,สัพพะโรคะวินาสายะ,ปะริตตัง พรูถะ มังคะลัง,
๔. การจุดเทียนน้ำมนต์
- ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพต้องรอคอยจุดเทียนน้ำมนต์อีกครั้งหนึ่ง
- เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถึงบท นโมการอัฏฐกะ คือ นะโม ๘ บท ประมาณ บทที่ ๕ (เริ่ม นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ฯลฯ) พิธีกรจุดเทียนชนวนเข้าไปเชิญ ประธานในพิธี หรือเจ้าภาพไปจุดเทียนน้ำมนต์แล้วยกภาชนะน้ำมนต์ถวายประธานสงฆ์ ยกมือ ไหว้แล้วกลับไปนั่งที่เดิม
๕. การบูชาข้าวพระพุทธ/ถวายภัตตาหารพระสงฆ์ เมื่อเจ้าหน้าที่เตรียมสำรับ อาหารเพื่อบูชาพระพุทธและภัตตาหารถวายพระสงฆ์เรียบร้อยแล้ว
ขั้นเตรียมการ
๑. โต๊ะหมู่บูชา ตั้งด้านขวาอาสน์สงฆ์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก, ทิศเหนือ หรือ ทิศ ใต้ ไม่นิยม
- พระพุทธรูป ๑ องค์
- แจกันดอกไม้ ๕ แจกัน หรือ พานดอกไม้ ๕ พาน
- กระถางธูป ๑ ชุด พร้อมธูป ๓ ดอก
- เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน ๒ เล่ม
- เชิงเทียนชนวน ๑ อัน พร้อมเทียน ๑ เล่ม
๓. เครื่องรับรอง ประกอบด้วย ภาชนะน้ำร้อน ภาชนะน้ำเย็นกระโถนตั้งไว้ด้าน ขวามือพระสงฆ์
๔. ที่นั่งเจ้าภาพและผู้ร่วมงาน
- จัดไว้ด้านหน้าอาสน์สงฆ์ แยกต่างหากจากอาสน์สงฆ์
- ถ้าที่นั่งเนื่องเป็นอันเดียวกับอาสนะ ให้ปูเสื่อ หรือพรมทับผืนที่เป็นที่นั่งฆราวาส
๕. ภาชนะน้ำมนต์/เทียนน้ำมนต์/หญ้าคา
- จัดในงานมงคลทุกชนิด ตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชาด้านขวามือของประธานสงฆ์
- งานอวมงคล เช่น ทำบุญหน้าศพ, ๗ วัน, ๕๐ วัน, ๑๐๐ วัน, วันคล้ายวันตาย เป็นต้น
- งานอวมงคลเพื่อปัดเป่าความชั่วร้าย เช่น แร้งจับที่บ้าน, รุ้งกินน้ำในบ้าน, อาเพศภัยพิบัติ
- เทียนน้ำมนต์ ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ น้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป
- หญ้าคา ใช้สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ หากไม่มีจะใช้ใบมะยมแทนก็ได้
๖. ด้ายสายสิญจน์
- งานมงคล ใช้วงรอบบ้านเรือนในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่, ทำบุญบ้านประจำปี, ทำบุญปัดเป่า
- งานอวมงคลเกี่ยวกับศพ ไม่ใช้ด้ายสายสิญจน์วงรอบบ้านเรือนใช้โยงจากศพมา
- งานมงคล เช่น ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ฯลฯ เริ่มต้นที่พระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาหรือ หิ้งพระ
วิธีใช้ด้ายสายสิญจน์บังสุกุล
- งานมงคล หากเชิญโกศอัฐิบรรพบุรุษมาร่วมบำเพ็ญกุศลด้วย จะใช้ด้ายสาย สิญจน์
- งานอวมงคล โยงจากศพ จากโกศอัฐิ จากรูปผู้ตาย หรือจากรายนามผู้ตาย
๗. เทียนชนวน อุปกรณ์ประกอบด้วย
- เชิงเทียนทองเหลืองขนาดกลาง ๑ อัน
- เทียนขี้ผึ้ง/เทียนไขไส้ใหญ่ ๆ ๑ เล่ม
- น้ำมันชนวน (เทียนขี้ผึ้ง /เทียนไข ผสมน้ำมันเบนซิน)
๘. ภาชนะกรวดน้ำ ใส่น้ำสะอาดเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนถึงเวลาใช้
๙. การนิมนต์พระสงฆ์
- งานมงคลพิธีหลวง หรือพิธีทางราชการ นิมนต์ ๑๐ รูป
- งานมงคลพิธีราษฎร์ทุกประเภท รวมทั้งงานมงคลสมรส นิมนต์ ๙ รูป (เลข ๙ ออกเสียง
- งานอวมงคลเกี่ยวกับพิธีศพทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ นิมนต์พระสงฆ์เหมือนกัน
- สวดพระอภิธรรม ๔ รูป
- สวดหน้าไฟ ๔ รูป
- สวดพระพุทธมนต์ ๕, ๗, ๙, ๑๐ รูป ตามศรัทธา (พิธีหลวง นิมนต์ ๑๐ รูป)
- สวดแจง ๒๐, ๒๕, ๕๐, ๑๐๐, ๕๐๐ รูป หรือทั้งวัด
- สวดมาติกาบังสุกุล นิยมนิมนต์เท่าอายุผู้ตาย หรือตามศรัทธา
พิธีทำบุญทั่วไป
พิธีทำบุญในศาสนาพุทธ มี ๒ พิธี คือ
๑. พิธีทำบุญงานมงคล เพื่อเป็นสิริมงคล ความสุข ความเจริญ เช่น ทำบุญขึ้นบ้าน ใหม่, งานวันเกิด, งานแต่งงาน เป็นต้น
๒. พิธีทำบุญงานอวมงคล เพื่อบำบัดความทุกข์โศก, ปัดเป่าความชั่วร้ายให้หมด ไป เช่น
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561
รธน.ที่เกี่ยวกับการศึกษาและกิจกรรมทางพุทธศาสนา
รธน.ที่เกี่ยวกับการศึกษาและกิจกรรมทางพุทธศาสนา
มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติ
หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
มาตรา ๕๔ รัฐต้องดําเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่
ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
รัฐต้องดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง
เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดําเนินการด้วย
รัฐต้องดําเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม
ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดําเนินการ กํากับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย
ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทําแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดําเนินการและตรวจสอบการดําเนินการ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย
การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้
ตามความถนัดของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
ในการดําเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับ
การศึกษาตามวรรคสาม รัฐต้องดําเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน
มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๖๗ รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ
มาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทําลายพระพุทธศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดําเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561
วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561
คำถวายสะพาน
คำถวายสะพาน |
มยํ ภนฺเต, อิมํ, เสตุง มหาชนานํ, สาธารณตฺถาย, นิยฺยาเทม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมสฺมึ, เสตุมฺหิ, นิยฺยาทิเต, สกฺขิโก โหตุ, อิทํ, เสตุทานํ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอมอบถวาย ซึ่งสะพานนี้ เพื่อประโยชน์ ทั่วไป แก่มหาชนทั้งหลาย ขอพระสงฆ์จงเป็นพยาน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในสะพานที่ ข้าพเจ้าทั้งหลายได้มอบให้แล้วนี้ ขอเสตุทานนี้ จงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายเวจกุฎี (ห้องสุขา)
คำถวายเวจกุฎี (ห้องสุขา) |
มยํ ภนฺเต, อิมํ วจฺจกุฏึ, อาคตานาคตสฺส, จาตุทฺทิสสฺส, ภิกฺขุสงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, ภิกฺขุสงฺโฆ อิมํ, วจฺจกุฏึ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายเวจกุฎีหลังนี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ผู้มีในทิศทั้ง ๔ ที่มาแล้วก็ดี ยังไม่มาก็ดี ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับเวจกุฎีหลังนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายธงเพื่อบูชา
คำถวายธงเพื่อบูชา |
มยํ อิมินา, ธชปฏาเกน, รตนตฺตยํ, อภิปูเชม, อยํ ธชปฏาเกน, รตนตฺตยปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ กิริยาที่บูชาพระรัตนตรัย ด้วยธงแผ่นผ้านี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป |
๓๓. คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มยํ อิมินา ปทีเปน, อสุกาย, นมฺมทาย, นทิยา, ปุลิเน €ิตํ, มุนิโน, ปาทวลญฺชํ, อภิปูเชม, อยํ, ปทีเปน, มุนิโน ปาทวลญฺชสฺส, ปูชา, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย, สํวตฺตตุ.
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย ในแม่น้ำ ชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้, กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไป เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา
คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา ๓๒. คำถวายธูปเทียนดอกไม้เพื่อบูชา |
คำแปล
ข้าแต่พระคุณเจ้าทั้งหลายผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชาธูปเทียนและดอกไม้ อันประเสริฐเหล่านี้ แก่พระรัตนตรัย กิริยาที่บูชาแก่พระรัตนตรัยนี้ จงเป็นผลนำมาซึ่งประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน จงเป็นไปเพื่อให้ถึงซึ่งพระนิพพาน เป็นที่สิ้นไป แห่งอาสวกิเลส เทอญ ฯ
คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒)
คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๒) |
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ, ก€ินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, ก€ินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวาร นี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้วจงกราน กฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑)
คำถวายผ้ากฐิน (แบบ ๑) |
อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, (ว่า ๓ จบ)
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แก่พระสงฆ์ ฯ